กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงาน
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สัญญาจ้าง
- พระราชบัญญัติประกันสังคม
- เงินทดแทน
- กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
กฎหมายคุ้มครองแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 9,000 ลูกจ้างรายวัน คิดตามขั้นต่ำไม่รวมวันอาทิตย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง เช่นช่ การกำ หนดจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ การกําหนดในเรื่องของแรงงานหญิง แรงงานเด็ก
การกําหนดค่าจ้างที่ขัดแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สัญญาจ้างก็จะเปนโมฆะ อีกทั้งยังจะรวมถึงเนื้อหาของสัญญาจ้างงาน
การจ่ายค่าจ้าง การทํางานในเวลาทํางาน การพักผ่อผ่ น การลางาน และสิทธิอื่น ๆ ของลูกจ้าง ที่ควรรู้จักและปฏิบัติตามในการดําเนินธุรกิจ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2041
กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอกภัยมีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร
- สิทธิและหน้าที่ ของนายจ้าง ลูกจ้าง
- ค่าจ้าง
- ค่าล่วงเวลา
- วันลา
- ค่าชดเชย
- การเลิกจ้าง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกัันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง
เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้ รวมทั้งกําหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสถานประกอบกิจการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- สัญญาจ้างแรงงาน
- การเลิกจ้าง
ข้อตกลงในสัญญาจ้าง
ข้อตกลงของนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละคน (individual) เกี่ยวกับการจ้างการทํางาน มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคม นายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง
สัญญาจ้างสิ้นสุด
- ลาออก
- เลิกจ้าง
- ตาย
- เกษียณอายุ
ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
เงินชดเชย หรือค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ ้มครองแรงงาน(ฉบับที7)พ.ศ. 2562 คือเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อถูกเลิกจ้างหรือถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ และไม่มีความผิดใดๆ โดยไม่เข้าข้อยกเว้น ซึ่งเป็นเงินนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยพิจารณาอัตราค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในกรณีต่อไปนี้
- ลูกจ้างลาออกเอง
- ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น โกงเงิน ยักยอกเงิน ฯลฯ
- ลูกจ้างจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน หรือระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน
- ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทํางานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ลูกจ้างได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
- กรณีการจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกําหนดระยะเวลานั้น ได้แก่ การจ้างงานในโครงการงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว และงานที่เป็นไปตามฤดูกาล
เงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อ
- ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด (ไม่ใ่ช่กรณีลาออกหรือถูกไล่ออกเพราะทําผิดร้ายแรง)
- สัญญาจ้างงานสิ้นสุดลง เช่น เกษียณอายุ, สัญญาจ้างครบกำหนด
**ข้อยกเว้น:** ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากลูกจ้างถูกไล่ออกเพราะ **ประพฤติผิดร้ายแรง** ตามมาตรา 119 เช่นช่ ขโมย หลอกลวง ทําลายทรัพย์สินบริษัท
วิธีการคํานวณค่าชดเชย

ตัวอย่างการคำนวณ
ลูกจ้างได้รับเงินเดือน 30,000 บาท/เดือน ทํางานมา 5 ปี – ค่าจ้างต่อวัน = 30,000 ÷ 30 = 1,000 บาท/วัน – ค่าชดเชย = 180 วัน × 1,000 บาท = **180,000 บาท**
การเกษียณอายุพนักงาน
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจากพนักงานมีอายุครบตามที่กําหนดไว
- การเกษียณอายุตามกําหนด นายจ้างลูกจ้างได้ตกลงกันไว้ ในสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามทีนายจ้างได้กําหนดไว้ ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน
- การเกษียณอายุก่อนกำหนด เป็นการเกษียณอายุก่อนถึงกําหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลต่างๆ เช่น นายจ้างมีประกาศเพื่อลดจํานวนพนักงาน หรือเลิกจ้าง
มาตรา 118/1 การเกษียณอายุ
การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกําหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกําหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกําหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างทีมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้าง และให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น
เกษียณอายุคือการเลิกจ้าง
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง
เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจอันดีต่อกันสามารถตกลงในเรื่อง
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ภาคบังคับ
เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงานที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม”
โดยเงินที่มาหลักของกองทุนดังกล่าวมีที่มาจาก 3 ฝ่ายคือ
นายจ้าง + ลูกจ้าง + รัฐบาล
โดยมีเจตนาที่จะใช้เงินในกองทุนดังกล่าวให้ความช่วยเหลือลูกจ้าง โดยการจ่ายประโยชน์ทดแทนในรููปแบบและเงื่อนไขที่กฎหมาย ฯ กําหนด เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับผู้ใช้แรงงาน
กองทุนเงินทดแทน
เป็นกองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง
กองทุนสงเคราะห์ลุกจ้าง
หลักประกันใหม่แรงงานไทยบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2568
วัตถุประสงค์: เงินออมเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย
1. กิจการที่มีลูก จ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และไม่มีกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
2. อัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ นำส่งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
– ตั้งแต่ 1 ต.ค. 68 – 30 ก.ย.73 ฝ่ายละ 0.25%
– ตั้งแต่ 1 ต.ค. 73 ฝ่ายละ 0.5%
3. การคำนวณ: คำนวณจากค่าจ้าง และ ค่าจ้างที่ได้รับตามผลงานด้วย
4. กรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบ หรือส่งไม่ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่ม ให้แก่กองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน
5. เมื่อลูกจ้างออกจากงาน ไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม เช่น ลาออกจากงาน เกษียณอายุ สิ้นสุดสัญญาจ้าง ถูกเลิกจ้างโดยกระทำความผิด หรือไม่มีความผิด จะได้รับเงินสะสม เงินสะสม และดอกผลจากเงินดังกล่าว ส่วนกรณีที่ลูกจ้างตาย จะจ่ายให้กับบุคคลผู้พึงได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามที่ลูกจ้างได้ทำหนังสือแจ้งไว้
Cr. Idolplanner Consulting